ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย

27 พฤศจิกายน 2558
 ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์
ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย

ประเภทของไฟ

ไฟประเภท A  คือไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นของแข็งเช่น ไม้, กระดาษ, เสื้อผ้า, พลาสติก ฯลฯ

ไฟประเภท B  คือไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นของเหลว เช่น น้ำมันเชื้อเพลิงไวไฟ/ไม่ไวไฟ และก๊าซ

ไฟประเภท C คือไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด และ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ไฟประเภท D คือไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นสารเคมีเช่น ผงแมกนีเซียม, อลูมิเนียมและโลหะที่ให้ความร้อนสูง(ห้ามใช้น้ำดับเป็นอันขาด)

ชนิดของเครื่องดับเพลิง

เครื่องดับเพลิงที่มีจำหน่ายในท้องตลาดจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภท (class) โดยจำแนกตามลักษณะของการเกิดเพลิงไหม้ที่ได้กล่าวมาแล้ว และจะต้องระบุประเภทของเครื่องดับเพลิงไว้บนตัวถังเครื่องอย่าง ชัดเจน เป็นตัวอักษร  A B C D

คำอธิบาย: http://adplan.payap.ac.th/images/office_of_building/article/knowledge_protec_%20fire/clip_image002.jpg

A หมายถึงเครื่องดับเพลิงที่เหมาะสำหรับดับเพลิงที่เกิดจากวัสดุทั่วไป   เช่น ไม้ กระดาษ ผ้า เป็นต้น

คำอธิบาย: http://adplan.payap.ac.th/images/office_of_building/article/knowledge_protec_%20fire/clip_image003.jpg

B หมายถึงเครื่องดับเพลิงที่เหมาะสำหรับดับเพลิงที่เกิดจากน้ำมันเชื้อเพลิง หรือของเหลวที่ไวไฟ

คำอธิบาย: http://adplan.payap.ac.th/images/office_of_building/article/knowledge_protec_%20fire/clip_image004.jpg

C หมายถึงเครื่องดับเพลิงที่เหมาะสำหรับดับเพลิงที่เกิดจากการลุกไหม้ของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เนื่องจากตัวสารเคมีที่ใช้จะไม่นำไฟฟ้า

คำอธิบาย: http://adplan.payap.ac.th/images/office_of_building/article/knowledge_protec_%20fire/clip_image005.jpg

D หมายถึงเครื่องดับเพลิงที่เหมาะสำหรับดับเพลิงที่เกิดจากโลหะที่ติดไฟได้


          ปัจจุบันนี้ ได้มีการผลิตเครื่องดับเพลิงที่สามารถดับเพลิงได้หลายประเภท ดังนั้น เราอาจเห็นถังดับเพลิงที่ติดป้าย A-B หรือ B-C หรือแม้แต่ A-B-C ได้

นอกจากนี้ เครื่องดับเพลิงยังแบ่งเป็นหลายชนิด ขึ้นอยู่กับสารที่บรรจุไว้ในถัง

1. ผงเคมีแห้ง เป็นผงสารเคมีที่ถูกบรรจุอยู่ในถังที่อัดก๊าซที่ไม่ติดไฟไว้ เมื่อกดปุ่ม ก๊าซก็จะผลักดันให้ผง เคมีออกจากถัง

2. ฮาลอน(Halon) เป็นสารดับเพลิงที่มีลักษณะเป็นก๊าซนิยมใช้ดับเพลิงที่ลุกไหม้สิ่งที่มีค่าเช่นในกรณีที่เกิดไฟไหม้ห้องคอมพิวเตอร์ หรือห้องผ่าตัด เพราะเมื่อฉีดไปแล้วจะไม่ทิ้งคราบไว้ตรงบริเวณที่ฉีด หรือทำความสะอาดได้ง่าย แต่มีข้อเสียคือ สามารถดับเพลิงได้ในระยะใกล้ๆเท่านั้น

3. น้ำ เป็นถังดับเพลิงที่บรรจุน้ำธรรมดาและก๊าซที่ถูกอัดไว้ เหมาะสำหรับดับเพลิง Class A เท่านั้น

4. คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นก๊าซที่ถูกอัดแน่นจนเป็นของเหลวเมื่อฉีดออกมาจะเกิดโฟมที่เย็นจัด ช่วยลดอุณหภูมิในบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ ใช้ได้ดีมากกับไฟไหม้ Class B และ C แต่สามารถดับไฟได้ดีแค่ระยะ 3-8 ฟุต

วิธีการใช้เครื่องดับเพลิง
คำอธิบาย: http://adplan.payap.ac.th/images/office_of_building/article/knowledge_protec_%20fire/thumbnailshow267145.jpg

ดึง       สลักออก
ปลด     หัวฉีดและจับปลายสายชี้ไปที่ฐานของไฟ
กด      คันบีบเต็มที่
ส่าย     มือจับปลายสายให้แน่นและฉีดไปที่ฐานของสายไฟ ส่ายมือไปมา

ข้อห้าม
*อย่าฉีดเมื่อยังไม่เห็นจุดต้นเพลิงหรือเพียงเห็นกลุ่มควัน
*ฉีดเข้าด้านเหนือลมที่ฐานของไฟห้ามฉีดเปลวไฟ
*ปฏิบัติตามข้อแนะนำของเครื่องดับเพลิงแต่ละชนิด
ขั้นตอนทั้ง 4 เมื่อมีไฟไหม้

1. พบเหตุ FIRE  เมื่อพบเหตุเพลิงไหม้  ให้แจ้งเหตุพร้อมช่วยคนที่อยู่ในอันตราย

2. แจ้งเหตุ ALARM แจ้งให้ผู้อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุรู้  และไปกดสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm) และดับไฟ

3. ระงับเหตุ EXTINGUISH ผู้ที่รู้ว่ามีเหตุเพลิงไหม้ ต้องเข้าช่วยกันดับไฟ (ควรฝึกใช้เครื่องดับเพลิงให้เป็นทุกคน) ปฏิบัติตามแผนฉุกเฉิน

4. หนีเหตุ ESCAPE ผู้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดับไฟ ให้รีบหนีทางช่องหนีไฟที่ปลอดภัยให้หนีลงอย่าหนีขึ้น หากมีกลุ่มควันให้คลานต่ำ แล้วไปรวมตัวที่จุดรวมพล เพื่อตรวจสอบจำนวนคนว่าออกมาครบ หรือติดค้างในอาคาร

แนวทางปฏิบัติ/การเตรียมการ
1. จัดเตรียมอุปกรณ์นิรภัยสำหรับช่วยชีวิต

2. ยึดเครื่องใช้ เครื่องเรือนต่างๆ ไว้ให้มั่นคง ไม่ให้ลื่นไถลหรือล้มง่ายจะเป็นการช่วยบรรเทาความเสียหายให้น้อยลง

3. เตรียมพร้อม เพื่อการอพยพไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัย และต้องกำหนดแผนการล่วงหน้า

4. อยู่ใต้โต๊ะที่แข็งแรง ป้องกันสิ่งของร่วงหล่น

5. เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวมักจะมีปัญหาเรื่องไฟฟ้าดับ ดังนั้น การใช้ลิฟท์จึงไม่ควรอย่างยิ่ง 

6. หากกำลังขับรถก็ให้จอดรถแล้วอยู่ในรถ จนกว่าการสั่นสะเทือนผ่านพ้นไป

7. ออกจากอาคาร เมื่อมีการสั่งการจากผู้ควบคุมดับเพลิงได้ในระยะใกล้ ๆ เท่านั้น