สะพานเสาวภา
ประวัติสะพานเสาวภา
ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในบรรดาประเทศทั้งหลายที่เจริญแล้วในโลก ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในบรรดาประเทศทั้งหลายที่เจริญแล้วในโลกนับตั้งแต่สมัยตั้งกรุงสุโขทัยตลอดจนกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และ กรุงสุโขทัยตลอดจนกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ซึ่งทรงเป็นประมุขของประเทศได้ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการคมนาคมซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำความรุ่งเรืองมาสู่ชาติเสมือนโลหิตที่หล่อเลี้ยงชีวิตให้ดำรงอยู่ และในบรรดาทางเดินของโลหิตสายนั้นการรถไฟคือทางเดินของโลหิตสำคัญสายหนึ่ง ซึ่งในราชอาณาจักรไทยสมัยก่อน ๆ ยังไม่เคยมีเค้ารูป และโครงการอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะแสดงให้เป็นที่ปรากฏชัดว่าการคมนาคมทางบกภายในประเทศจะมีการขนส่งโดยทางรถไฟของรัฐบาลเกิดขึ้นเลย เพราะในเวลานั้นประชาชนยังนิยมใช้สัตว์ เช่น โค กระบือ ม้า ช้างและเกวียน เป็นพาหนะเพื่อประโยชน์ในการเดินทางและในการลำเลียงสินค้าต่าง ๆ จากถิ่นหนึ่งไปยังอีกถิ่นหนึ่งจนกระทั่งการขนส่งโดยทางรถไฟได้เริ่มมีชีวิตจิตใจขึ้นจนสำเร็จเป็นรูปร่างอันสมบูรณ์ในรัชสมัย ” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ” โดยมีประกาศ พระบรมราชโองการสร้างทางรถไฟสยาม ตั้งแต่ กรุงเทพฯ ถึง เมืองนครราชสีมา ลงวันที่ 1 มีนาคม ร.ศ.109 ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 2433 ก่อนที่การรถไฟหลวงจะถือกำเนิดขึ้นนั้นปรากฏว่าในปีพุทธศักราช 2398 รัฐบาลสหราชอาณาจักรอังกฤษให้ เซอร์ จอห์น เบาริง (Ser John Bowring) ผู้สำเร็จราชการเกาะฮ่องกง ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม พร้อมด้วย มิสเตอร์ แฮรี่ สมิท ปาร์ค (Mr. Harry Smith Parkes) กงสุลเมืองเอ้หมึง เป็นอุปทูล เดินทางโดยเรือรบหลวงอังกฤษเข้ามาเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญาทางราชไมตรีฉบับที่รัฐบาลอังกฤษที่อินเดีย ทำไว้กับรัฐบาลไทยเมื่อ วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2369 ซึ่งในกาลนั้น มิสเตอร์ แฮรี่ สมิท ปาร์ค ได้นำสนธิสัญญาฉบับใหม่ออกไปประทับตราแผ่นดินอังกฤษ แล้วนำกลับมาแลกเปลี่ยนสนธิสัญญากับฝ่ายไทย กับอัญเชิญ พระราชสาส์น และเครื่องราชบรรณาการของสมเด็จพระนางวิคตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรอังกฤษเข้ามาเพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย แด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 อาทิ รถไฟจำลองย่อส่วนจากของจริงประกอบด้วย รถจักรไอน้ำ และรถพ่วงครบขบวน เดินบนรางด้วยแรงไอน้ำทำนองเดียวกับรถใหญ่ที่ใช้อยู่ในเกาะอังกฤษ(ขณะนี้รถไฟเล็กได้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ) ราชบรรณาการในครั้งนั้น สมเด็จพระนางวิคตอเรีย ทรงมีพระราชประสงค์จะให้เป็นเครื่องดลพระราชหฤทัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ทรงคิดสถาปนากิจการรถไฟขึ้นในราชอาณาจักรไทย แต่เนื่องจากในขณะนั้นภาวะเศรษฐกิจของไทยยังอยู่ในฐานะไม่มั่นคง และมีจำนวนพลเมืองน้อย กิจการจึงต้องระงับไว้ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เหตุการณ์ทางด้านการเมือง สืบเนื่องมาจากนโยบายขยายอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส แผ่มาครอบคลุมบริเวณแหลมอินโดจีน พระองค์ท่านทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคมโดยเส้นทางรถไฟ เพราะการใช้แต่ทางเกวียนและแม่น้ำลำคลองเป็นพื้นนั้น ไม่เพียงพอแก่การบำรุงรักษาพระราชอาณาเขต ราษฎรที่อยู่ห่างไกลจากเมืองหลวงมีจิตใจโน้มเอียงไปทางประเทศใกล้เคียง สมควรที่จะสร้างทางรถไฟขึ้นในประเทศเพื่อติดต่อกับมณฑลชายแดนก่อนอื่น ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การปกครอง ตรวจตราป้องกันการรุกรานเป็นการเปิดภูมิประเทศให้ประชาชนพลเมืองเข้าบุกเบิกพื้นที่ รกร้างว่างเปล่า ให้เป็นประโยชน์ทางเศรษกิจของประเทศ และจะเป็นเส้นทางขนส่งผู้โดยสารและสินค้าไปมาถึงกันได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังนั้น ในปี พ.ศ.2430 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เซอร์แอนดรู คลาก และบริษัทปันชาร์ด แมกทักการ์ด โลเธอร์ ดำเนินการสำรวจเพื่อสร้างทางรถไฟจาก กรุงเทพฯ – เชียงใหม่ และมีทางแยกตั้งแต่เมืองสระบุรี – เมืองนครราชสีมาสายหนึ่ง จากเมืองอุตรดิตถ์ – ตำบลท่าเดื่อริมฝั่งแม่น้ำโขงสายหนึ่ง และจากเมืองเชียงใหม่ไปยังเชียงราย เชียงแสนหลวงอีกสายหนึ่ง โดยทำการสำรวจให้แล้วเสร็จเป็นตอนๆ รวม 8 ตอน ในราคาค่าจ้างโดยเฉลี่ยไม่เกินไมล์ละ 100 ปอนด์ ทั้งสองฝ่ายลงนามในสัญญา เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2430 เมื่อได้สำรวจแนวทางต่าง ๆ แล้ว รัฐบาลพิจารณาเห็นว่าจุดแรกที่สมควรจะสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเมืองหลวงของไทยก่อนอื่น คือ นครราชสีมา ดังนั้นในเดือนตุลาคม 2433 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งกรมรถไฟขึ้น สังกัดอยู่ในกระทรวงโยธาธิการมีพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัติวงศ์ ทรงเป็นเสนาบดี และนาย เค. เบ็ทเก ( K. Bethge ) ชาวเยอรมัน เป็นเจ้ากรมรถไฟพร้อมกันนั้นได้ เปิดประมูลสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ – นครราชสีมา เป็นสายแรก ณ ที่ทำการรถไฟกรุงเทพ ปรากฏว่า มิสเตอร์ จี มูเร แคมป์เบล แห่งอังกฤษ เป็นผู้คำประกันประมูลได้ในราคาต่ำสุด โดยเสนอราคาเป็นเงิน 9,956,164 บาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชทานพระบรมราชานุมัติให้กระทรวงโยธาธิการว่าจ้าง มิสเตอร์ จี. มูเร แคมป์เบลล์ สร้างทางรถไฟหลวงจากกรุงเทพฯถึงนครราชสีมา เป็นสายแรก เป็นทางขนาดกว้าง 1.435 เมตร และได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีกระทำพระฤกษ์ เริ่มการสร้างทางรถไฟ ณ บริเวณย่านสถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 09 มีนาคม พ.ศ.2434 ซึ่งปัจจุบัน การรถไฟฯได้สร้างอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานรำลึกเหตุการณ์สำคัญในอดีต และเพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ
ถ้าพูดถึงสะพานรถไฟ หลายคนคงจินตนาการถึงภาพสะพานเหล็กขนาดมหึมาดูน่าเกรงขาม ซึ่งมักเรียกแบบฮิตติดปากว่า ‘สะพานดำ’ อาจเป็นเพราะสะพานเหล็กมักทาสีดำเพื่อกันสนิม จึงดูน่าเกรงขามกึ่งน่าเกรงกลัวในสายตาของคนทั่วไป
โดยส่วนใหญ่แล้ว สะพานรถไฟในประเทศไทยกว่าร้อยละ 80 สร้างด้วยเหล็ก หากเป็นสะพานข้ามแม่น้ำที่กว้างมากๆ มักเป็นโครงสร้างเหล็กถักร้อยต่อกันไปเพื่อรับน้ำหนักของรถไฟ เวลาวิ่งผ่านก็จะดัง กึงกึง กึงกึง เป็นจังหวะ จึงเป็นสิ่งที่มองแล้วน่าสนใจ
วันนี้เราจะพาไปรู้จักสะพานเหล็กที่ดูเหมือนธรรมดาแต่ไม่ธรรมดา เพราะนอกจากจะเป็นสะพานข้ามแม่น้ำสำคัญแล้ว ชื่อของสะพานเหล่านี้ยังเป็นชื่อ ‘พระราชทาน’ โดยพระมหากษัตริย์อีกด้วย
บทความ เรื่องนี้นำเสนอเรื่องเล่าและประสบการณ์ความทรงจำของผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ใน ชุมชนริมแม่น้ำนครชัยศรี ตั้งแต่ สมัยสงครามโลกครั้งที่2 ที่มีการขนส่งและลำเลียงยุทธภัณฑ์ไปยังค่ายเชลยที่จังหวัดกาญจนบุรี บทความนำเสนอความทรงจำของผู้คนใน 2 ประเด็นคือความทรงจำเรื่องเศรษฐกิจของพื้นที่ที่ เคยรุ่งเรืองอย่างมากเป็นย่านการค้า การขนส่งที่สำคัญของลุ่มแม่น้ำ นครชัยศรีและความทรงจำเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เกี่ยวกับสถานีรถไฟ สัญญานเตือนภัย การหลบภัย การระเบิดสะพานเสาวภา จากความทรงจำที่สัมพันธ์กับพื้นที่ดังกล่าวพบว่าทั้ง ความทรงจำและประวัติศาสตร์มีความสัมพันธ์กัน ความทรงจำเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ส่วนประวัติศาสตร์คือการฟื้นภาพหวนคิดในสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต การฟื้นคืนของความทรงจำคือ การค้นหาบางสิ่งในอดีต ร่วมรำลึกถึงเหตุการณ์ช่วงหนึ่งของสงครามโลก ครั้งที่ 2 คำสำคัญ: พื้นที่และความทรงจำ, สงครามโลกครั้งที่ 2, นครชัยศรี มนุษย์ทุกคนต่างมีความทรงจำของตนเอง โดยความทรงจำนั้นมิได้เกิดขึ้นและดำรงอยู่ อย่างโดดเดี่ยวไร้ที่ยึดเกาะ แต่ความทรงจำล้วนเกาะเกี่ยวกับบริบทในการมีอยู่ของชีวิตมนุษย์ ในแต่ละบุคคล หรือกล่าวได้ว่า สภาพแวดล้อม บริบททางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ฯลฯ ต่างมีผลต่อความทรงจำทั้งสิ้น ในบทความเรื่องพื้นที่และความทรงจำร่วมเกี่ยว กับสงครามโลกครั้งที่ 2 ของชุมชนงิ้วรายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอประวัติศาสตร์ของความทรง จำของคนในพื้นที่ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ในครั้งที่ทหารต่างชาติทั้งญี่ปุ่นและทหารจากฝ่ายสัมพันธมิตรใช้พื้นที่งิ้วรายเป็นทางผ่านใน การลำเลียงกำลังพล อาวุธยุทโธปกรณ์ และเสบียงอาหารไปสู่จังหวัดกาญจนบุรีที่มีการสร้าง สะพานข้ามแม่น้ำแคว จนกลายเป็นตำนานเลื่องลือไปทั่วโลก ที่ว่า “The Bridge of River Kwai” ทั้งนี้บทความมิได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อรื้อฟื้นเรื่องเล่าแห่งความทรงจำที่เจ็บปวดของผู้คน แต่ละชาติแต่ละภาษาเกี่ยวกับสงคราม แม้จะมีข้อความบอกเล่าบางประการที่อ้างถึงสงคราม ก็ตาม การนำเสนอจะเรียงลำดับจากชุมชนในอดีต ไปสู่ชุมชนในปัจจุบันและสุดท้ายเป็นเรื่อง ความทรงจำของผู้คนในชุมชนเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่สัมพันธ์กับพื้นที่ในชุมชน
ที่มาของชื่อสะพานรถไฟ : ‘เสาวภาผ่องศรี’ เป็นพระนามเดิมของ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง