ฐานข้อมูลเกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

27 พฤศจิกายน 2558
 ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์
ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!

ฐานข้อมูลเกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

ข้อมูลเกี่ยวกับศาสนสถาน

ลำดับที่

ชื่อ

หมู่ที่

ชื่อเจ้าอาวาส

จำนวนพระสงฆ์

จำนวนสามเณร

1

วัดงิ้วราย

4

รูปที่ ๑ พระอาจารย์ยวง

รูปที่ ๒ พระอาจารย์ทรัพย์  พ.ศ. ๒๔๐๐ - ๒๔๔๐

รูปที่ ๓ พระครูปัจฉิมทิศบริหาร  (บุญเกิด รัตนสิงห์) พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๔๘๘

รูปที่ ๔ พระครูปุริมานุรักษ์  (บุญมี สุขาบูรณ์)   พ.ศ. ๒๔๘๙ - ๒๕๑๕

รูปที่ ๕ พระจารย์สมปอง อาทิจฺจวํโส  (เรืองขจร) พ.ศ. ๒๕๑๖ - ๒๕๒๑

รูปที่ ๖ พระมหาสมบัติ ยสสฺสโม  (เทพโพธิ์จ้อย) พ.ศ. ๒๕๒๒ - ๒๕๒๗

รูปที่ ๗ พระครูขันตยาภิรัต  (เชื่อม ขนฺติธโร)    พ.ศ. ๒๕๒๗ - ปัจจุบัน

 

8

-

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรม/ประเพณี

ลำดับที่

ประเพณี/วัฒนธรรม

ประวัติความเป็นมา/ความสำคัญ

ช่วงเวลา

สถานที่ปฏิบัติ

1

วันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา เพราะมีเหตุการณ์พิเศษที่มาบรรจบกัน 4 ประการ หรือที่เรารู้จักกันดีว่า "จาตุรงคสันนิบาต" อันเป็นประดุจการปฐมนิเทศในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการนั่นเอง ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์มหัศจรรย์ที่โลกต้องจารึก เพราะเป็นการประชุมของผู้บริสุทธิ์ล้วนๆ และเป็นครั้งแรกที่มีการประขุมเพื่อรับฟังทิศทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นสำคัญวันหนึ่งของพระพุทธศาสนา  เป็นที่รู้กันว่าเป็นวันเกิดพระธรรม   ถือว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้า  ได้ประกาศหลักธรรมคำสอนของพระองค์  เพื่อให้พระอรหันต์ทั้งหลาย  ที่มาประชุมพร้อมกันในวันนั้น  นำไปเผยแผ่

วันขึ้น 15 ค่ำ  เดือน 4

- วัดงิ้วราย

2

ประเพณีสงกรานต์

ประเพณีสงกรานต์ ถือเป็นการฉลองการขึ้นปีใหม่ไทย ที่ยึดถือปฏิบัติกันมาช้านาน และยังเป็นวันที่ครอบครัว จะได้อยู่พร้อมหน้า เนื่องจากหลาย ๆ ครอบครัว ที่มีลูกหลานที่ไปทำงานในต่างจังหวัด ก็จะได้ใช้โอกาสนี้กลับมารวมตัวกันอีกครั้งหนึ่ง  และร่วมกันทำกิจกรรมร่วมกัน ทั้งกิจกรรมในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการเล่นน้ำสงกรานต์ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ หรือเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อสังคม ทั้งการขนทรายเข้าวัด ทำบุญ ทำทาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ได้เสริมสร้างคุณค่า และความสำคัญของวันสงกรานต์ ให้ทวีคูณยิ่งขึ้น และส่งผลให้วันสงกรานต์ เป็นวันที่มีคุณค่า และความหมายต่อหลาย ๆ คน

วันขึ้น 15 ค่ำ  เดือน 4

- ครอบครัว, ชุมชน, หมู่บ้านอบต.งิ้วราย, วัดงิ้วราย

ลำดับที่

ประเพณี/วัฒนธรรม

ประวัติความเป็นมา/ความสำคัญ

ช่วงเวลา

สถานที่ปฏิบัติ

3

วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา นั้น  ได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ คือ วันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธศาสนิกชนจะบำเพ็ญกุศล ทำบุญตักบาตร บริจาคทาน ปฏิบัติธรรม รักษาศีล ไหว้พระ สวดมนต์ ฟังธรรม เวียนเทียน  เจริญภาวนา  ฯ

วันขึ้น 15 ค่ำ  เดือน 6

- วัดงิ้วราย

4

วันเข้าพรรษา

การเข้าพรรษา เป็นพุทธบัญญัติ พระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม หมายถึง การอธิษฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริง ๆช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ประเพณีสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย คือ ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษาและประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน

วันแรม 1 ค่ำ  เดือน 8

- วัดงิ้วราย

5

วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี จนพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

วันขึ้น 15 ค่ำ  เดือน 8

- วัดงิ้วราย

ลำดับที่

ประเพณี/วัฒนธรรม

ประวัติความเป็นมา/ความสำคัญ

ช่วงเวลา

สถานที่ปฏิบัติ

6

วันเฉลิมพระชนม พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม ราชินีนาถ

 

วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ผู้ทรงประทานความรัก ความเมตตา และเสียสละความสุขส่วนพระองค์  ส่งเสริมอาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต  องค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ได้จัดที่ไว้สำหรับลงนามถวายพระพร และมีการจัดกิจกรรม/โครงการเทิดพระเกียรติฯ เช่น การบำเพ็ญประโยชน์ รณรงค์ เผยแพร่  ประชาสัมพันธ์พระราชกรณียกิจด้านต่างๆ  การจัดนิทรรศการ ประดับธงชาติตามสถานที่ราชการ อาคาร บ้านเรือน ทำบุญตักบาตรเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ร่วมพิธีถวายพระราชสดุดี ฯ

วันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี

- ครอบครัว  ชุมชน, หมู่บ้านอบต.  อำเภอจังหวัด

7

ประเพณีสารทเดือนสิบ

เป็นงานบุญประเพณี ที่ได้รับอิทธิพลด้านความเชื่อ จากทางศาสนาพราหมณ์ โดยมีการผสมผสานกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนา โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพชนและญาติที่ล่วงลับ ซึ่งเชื่อว่าได้รับการปล่อยตัวมาจากภูมินรก ที่ตนต้องจองจำอยู่เนื่องจากผลกรรมที่ตนได้เคยทำไว้ ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่มีมา และเป็นโอกาสหนึ่งที่ได้รวมญาติพบปะพี่น้องที่อยู่ห่างไกล  มีการทำขนมต่างๆ มากมาย

วันแรม 1 ค่ำ ถึงแรม 15 ค่ำเดือน 10

- วัดงิ้วราย

8

วันออกพรรษา

วันออกพรรษา ถือเป็นการสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่วัดในช่วงฤดูฝนตลอด 3 เดือนของพระภิกษุสงฆ์ พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ที่เรียกว่า มหาปวารณา ในวันออกพรรษา ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกันได้

วันขึ้น 15 ค่ำ  เดือน 11

- วัดงิ้วราย

ลำดับที่

ประเพณี/วัฒนธรรม

ประวัติความเป็นมา/ความสำคัญ

ช่วงเวลา

สถานที่ปฏิบัติ

9

ประเพณีการทอดกฐิน

 

การทอดกฐิน หมายถึง การนำเอาผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์ ซึ่งมีจำนวนอย่างน้อย ๕ รูป โดยมิได้ตั้งใจว่าจะถวายแก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งโดยเฉพาะ การทอดกฐิน ในแต่ละปีกำหนดให้มีการจัดทอดกฐินขึ้นภายใน ๑ เดือน หลังประเพณีออกพรรษา โดยวัดที่จะสามารถรับกฐินได้ ต้องมีพระภิกษุจำพรรษาโดยไม่ขาดพรรษาเลย ไม่ต่ำกว่า ๕ รูป และแต่ละวัดสามารถรับกฐินได้ปีละ ๑ ครั้ง

วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

- วัดงิ้วราย

10

ประเพณีลอยกระทง

เป็นการบูชาและขอขมาแม่พระคงคาเพราะได้อาศัยนำท่านกินและใช้ และอีกประการหนึ่งมนุษย์มักจะทิ้งและถ่ายสิ่งปฏิกูลลงไปในน้ำด้วย เป็นการสะเดาะเคราะห์เพื่อลอยทุกข์โศกโรคภัย และสิ่งไม่ดี เป็นการบูชาพระเจ้าในศาสนาพราหมณ์ หรือเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท

วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

- ในพื้นที่ตำบล และใกล้เคียง

11

วันเฉลิมพระชนม พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันที่ระลึกคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ พระผู้ทรงกอปรด้วยพระวิริยะอุตสาหะ บำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ  ด้วยพระราชประสงค์ที่จะให้ประชาชนทุกหมู่เหล่า และประเทศชาติ มีความผาสุก และเจริญก้าวยิ่งๆขึ้น องค์กรและหน่วยงานต่างๆ ได้จัดที่ไว้สำหรับลงนามถวายพระพร   และมีการจัดกิจกรรม/โครงการเทิดพระเกียรติฯ เช่น การบำเพ็ญประโยชน์ การจัดนิทรรศการ ประดับธงชาติ  ทำบุญตักบาตรเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล  และร่วมพิธีถวายพระราชสดุดี

วันที่ 5 ธันวาคม     ของทุกปี

- ครอบครัว  ชุมชน, หมู่บ้านอบต.  อำเภอจังหวัด

 

ลำดับที่

ประเพณี/วัฒนธรรม

ประวัติความเป็นมา/ความสำคัญ

ช่วงเวลา

สถานที่ปฏิบัติ

12

วันธรรมสวนะ

 

วันธรรมสวนะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันพระ เป็นวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนจะไปวัดเพื่อทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์และฟังพระธรรมเทศนา รวมทั้งรักษาศีล เจริญจิตภาวนา

วันขึ้น 8 ค่ำ, วันขึ้น 15 ค่ำ, วันแรม 8 ค่ำ, วันแรม 15 ค่ำ

- วัดงิ้วราย

13

ประเพณีการบวช

ประเพณีการบวช เป็นการปฏิบัติที่สืบเนื่องมาจากความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนาพุทธของพุทธศาสนิกชน โดยตามประเพณีนั้น ชายที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จะต้องเข้าพิธีอุปสมบท (อุปสมบท หมายถึงการบวชเป็นภิกษุ) เพื่อศึกษาพระธรรมให้เข้าใจชีวิต และสามารถนำมาใช้ในการครองชีวิตต่อไปในภายภาคหน้าได้อย่างสงบสุขและมีสติ สมัยก่อนต้องบวชกัน 1 พรรษาปัจจุบันระยะเวลาอาจจะน้อย เช่น 7 วัน 15 วัน  30 วัน

นิยมบวชตามประเพณีในช่วงก่อนวันเข้าพรรษา หากไม่ได้บวชในช่วงตามประเพณีระยะเวลาในการบวชขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้บวช

- วัดงิ้วราย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ทะเบียนภูมิปัญญาท้องถิ่นและปราชญ์ชาวบ้าน

องค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

 

ที่

ชื่อ – สกุล

ที่อยู่

ประเภท

หมายเหตุ

1

นายมานะ  บุนนาค

42/2 หมู่ 1 ต.งิ้วราย

การทำเกษตรผสมผสาน

089-8222879

2

นางอ่อน  พุ่มพวง

48/4 หมู่ 2 ต.งิ้วราย

การทำเครื่องปั้นดินเผา

 

3

นายมานะ  สมัครกิจ

7/1 หมู่ 3 ต.งิ้วราย

การนวดแผนไทย

089-2578995

4

นางทองย้อย  ดิษฐ์กองทอง

11/11 หมู่ 3 ต.งิ้วราย

การทำขนมไทย

034-299222

5

นายลือชัย  จำปาขาว

106 หมู่ 4 ต.งิ้วราย

การทำเกษตรอินทรีย์

086-7550915

6

นายมณี  อิสโร

72 หมู่ 4 ต.งิ้วราย

การทำพวงมโหตร

081-9438594